วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่6 วันอังคารที่11 ธันวาคม พ.ศ.2555

***เนื่องจากขาดเรียนในครั้งนี้ จึงคัดลอกเนื้อหาจากของนางสาวรัชฏาภรณ์  ฤาชา

- ส่งแผนการสอน
- อาจารย์ให้นำกล่องมาพับเป็นกล่องให้สมบูรณ์คนละ 1 กล่อง


- อาจารย์ถาม  - เห็นกล่องแล้วนึกถึงอะไร?
                        - อยากให้กล่องกลายเป็นอะไร?
- กล่อง ใช้สอนคณิตศาสตร์ได้อะไร?
- แบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน
                        - ให้แต่ละกลุ่มนำกล่องมาวางต่อกันโดยห้ามปรึกษากัน

                        - ต่อเสร็จให้นักศึกษาบอกเหตุผลของแต่ละคนว่าทำไมถึงนำกล่องไปต่อตรงนั้น ตามความคิดของแต่ละคน

                        - ให้แต่ละกลุ่มนำกล่องมาวางต่อกันโดยมีการพูดคุยกัน

ต่อเป็นช้าง
                        - ให้ 2 กลุ่มมารวมกันและจัดนิทรรศการ โดยอาจารย์มีอุปกรณ์มาให้



-สิ่งที่ได้จากการต่อกล่องเป็นสวนสัตว์
                    - ได้รู้เรื่อง ทิศทาง ระยะทาง กึ่งกลาง ระหว่าง ซ้าย ขวา หน้า หลัง
                    - ได้มีประสบการณ์เรื่องของรูปทรง รูปร่าง มุมมอง ว่า "ของสิ่งเดียวกันถ้ามองต่างมุมก็จะเห็นต่างกัน"
                   - ได้เรื่องเซต ในแต่ละตัวละครที่นำกล่องมาต่อ ต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง
- กล่องนำมาทำอะไรได้อีกนอกจากจัดนิทรรศการ
                  - ประดิษฐ์
                  - ไว้ในมุมซุปเปอร์มาร์เก็ต
                  - ใช้แทนบล็อก ในมุมบล็อก
- หลังจากทำกิจกรรมเรียบร้อย เวลาเก็บเราต้องทำอย่างไร
                 - แยกชิ้นส่วน
                 - จัดกลุ่ม จัดประเภท

** งานที่มอบหมาย **

- สัปดาห์หน้าให้นำอุปกรณ์มาดังนี้
            - ฝาขวดน้ำ 9 ฝา
            - ตัดกระดาษโปสเตอร์สี ส้ม เหลือง ชมพู ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว 1.5 นิ้วและ 2 นิ้ว อย่างละ 3 ชิ้น ติดใส่ฝาขวดน้ำ
บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่5 วันอังคารที่4 ธันวาคม พ.ศ.2555

ส่งงาน พร้อมกับนำเสนองาน

-อาจารย์ยกตัวอย่างเรื่องส้ม
1.ชนิดของส้ม


2.ลักษณะของส้ม


3.ส่วนประกอบ ให้รวมในวันเดียวกันกับลักษณะ
4.การแปรรูป

               ทำน้ำส้มคั้น



 **ควรเขียนเป็นสัญญลักษณ์ รูปภาพ

5.ข้อควรระวัง
     สนทนากับเด็กบอกถึงข้อควรระวัง เอานิทานเข้ามาสอน

***งานมอบหมาย
1.ให้เขียนแผนการสอนคนละ1วันตามหัวข้อที่ไดรับมอบหมาย

วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่4 วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2555

1.อาจารย์ให้ส่งMaid Map ที่ให้ไปแก้ไขในสัปดาห์ที่แล้วมาส่ง พร้อมทั้งแนะนำเพิ่มเติม







2.อาจารย์ให้นำเสนอกิจกรรม12ข้อ ของแต่ละกลุ่ม




วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่3 วันอังคารที่ 20พฤศจิกายน พ.ศ.2555

อาจารให้ส่งงานMindmapของแต่ละกลุ่ม

อาจารย์บอกส่วนที่ผิดพร้อมทั้งแนะนำแล้วให้ไปแก้ไข




อาจารย์แนะนำ
-ทำไมต้องมีหน่วย
วางแผน มีสาระ เด็กต้องเรียนรู้เพื่อเอาตัวรอด
-หลักในการเลือกเนื้อหา  สาระ
สิ่งที่อยู่ใกล้ตัว ทำให้เด็กเกิดการรับรู้/สิ่งที่มีผลกระทบ

     1.การนับ (Counting) เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่1-10 หรือมากกว่านั้น

     2.ตัวเลข (Number) เป็นสัญลักษณ์แทนค่า แทนลำดับที่ แทนจำนวน

     3.การจับคู่ (Matching)จำนวนกับจำนวน จำนวนกับตัวเลข

     4.การจัดประเภท (Classification)ต้องมีเกณฑ์ สำหรับเด็กต้องตั้งเพียง1เกณฑ์

     5.การเปรียบเทียบ (Comparing) เรื่องจำนวน จำนวนของสิ่งที่ยาวกว่า เบากว่า หนักกว่า เด็กจะเปรียบเทียบตามตาเห็น

     6.การจัดลำดับ (Ordering) ขึ้นอยู่ว่าเราเรียงจากไหน เช่น เบาสุด หนักสุด

     7.รูปทรงและเนื้อที่ (Shape and Space) สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม มีความกว้าง ความลึก ความหนา

     8.การวัด (Measurement) การหาค่า เช่นหาค่าความยาว วัดโดยไม่เป็นทางการ เช่น การตวงโดยการใช้มือ ใช้กระป๋อง  ใช้ถ้วย

     9.เซต (Set) เช่น เซตของอุปกรณ์การรับประทานอาหาร

    10.เศษส่วน (Fraction) เช่น ขนม1ชิ้น แบ่งให้เพื่อน4คน เท่าๆๆกัน เป็น1/4

    11.การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning) ข้อตกลงร่วมกันเพื่อสื่อสาร

    12.การอนุรักษ์ หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservation)การเทน้ำ ทรงสูง  ทรงตำ น้ำจะเปลี่ยนแปลงไปตามรูปทรงแก้ว (เด็กจะตอบตามตาเห็น) เด็กสามารถคิดเชื่อมโยงเหตุผลได้



**งานที่มอบหมาย
1. แก้ไขหน่วยของตัวเอง

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่2 วันอังคารที่13 พฤศจิกายน พ.ศ.2555

1.อาจารย์ให้เขียนสัญลักษณ์ของตัวเองและเขียนชื่อ

คณิตศาสตร์+ภาษา เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้

2.อาจารย์ให้นำรูปที่วาดไปติดที่กระดาน



มีเวลาก่อน12.00น. 12.00น. หลัง12.00น.เป็นเกณฑ์

เด็กได้เรียนรู้
-รู้จำนวนนับ
-เรียงจากซ้ายไปขวา
-การเปรียบเทียบ

  การบูรณาการคณิตศาสตร์ให้เข้ากับ 6 กิจกรรมหลัก ได้แก่
-กิจกรรมกลางแจ้ง
-กิจกรรมเสริมประสบการณ์
-กิจกรรมเสรี (มุมประสบการณ์)
-กิจกรรมการเคลื่อนไหว
-กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
-กิจกรรมเกมการศึกษา

3. อาจารย์ให้ฟังเพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กพร้อมอธิบายเพิ่มเติม

**งานมอบหมาย
หาข้อมูลเกี่ยวกับ
-ล็อตโต้
-โดมิโน
***ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเกมการศึกษา

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่1 วันอังคารที่6 พฤศจิกายน 2555

1.อาจารย์ให้เขียนประโยค 1 คนละ1ประโยค โดยคำถามคณิตศาสตร์ในความคิดของเราคืออะไร
 คือ การคิด การคำนวน เรียงลำดับจำนวน จากสิ่งต่างๆเช่นรูปภาพ สิ่งของ
*การแต่งประโยคต้องมีประธาน ในประโยคนี้ไม่มีประธาน
2.คำถามที่2 ได้เรียนรู้อะไรบ้างจากรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 1.ได้เรียนรู้หลักในการจัด
 2.ได้เรียนรู้ความหมาย
 3.ได้เรียนรู้เนื้อหา
 4.ได้เรียนรู้วิธีการ

พัฒนาการคือ การแสดงออกท่าทางว่าทำอะไรได ทำอะไรไม่ได้
แรกเกิด-2ปี  มอง สัมผัส อยากรู้ อยากเห็น สำรวจสิ่งที่อยู่รอบตัว เรียกขั้นนี้ว่า ขั้นประสาทสัมผัส
2-4ปี พูดได้ เช่น แม่ พ่อ
4-6ปี พูดเป็นประโยค ใช้เหตุผล
                               **ตารางการแสดงพัฒนาการด้านต่างๆของด็กแรกเกิดถึง6ปี
                                         เรียบเรียงโดย นพ.พงษ์ศักดิ์  น้อยพยัคฆ์

อายุ
การทรงตัวและการเคลื่อนไหวร่างกาย
การใช้ตา และมือ
การสื่อความหมาย และภาษา
สังคม
แรกเกิด
งอแขนขาทั้งในท่านอนคว่ำและหงาย

โดยทั่วไปมองเหม่อ แต่อาจจ้องมองในระยะ 8-12นิ้ว กำมือเมื่อถูกกระตุ้นที่ฝ่ามือ
สื่อสารด้วยเสียงร้อง แต่หยุดฟังเมื่อได้ยินเสียง เช่น เสียงกระดิ่ง เสียงคนคุยด้วย
มองหน้าคนช่วงสั้นๆ
1 เดือน
ในท่านอนคว่ำจะชันคอได้ชั่วครู่
มือกำแน่น จ้องตามวัตถุได้ไม่เกินแนวกึ่งกลางตัว
ส่งเสียงในคอ
มองจ้องหน้าได้ ยิ้มเอง  
2 เดือน
ในท่านอนคว่ำ ชันคอเองได้45 องศา
มือกำหลวมๆ มองตามสิ่งของได้ข้ามแนวกึ่งกลางตัว
หยุดเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อฟังเสียงคุยด้วย
สบตา ยิ้มตอบเวลามีคนยิ้มด้วย   
4 เดือน
หากจับให้อยู่ในท่านั่งสามารถยกศีรษะตั้งตรงได้
ถ้าจับยืนจะเด้งตัวขึ้นลง
มือ 2 ข้างประสานกันตรงกลาง จ้องมองมือของตัวเองด้วยความสนใจ เอื้อมมือคว้าของใกล้ตัว
ส่งเสียงหัวเราะเอิ๊กอ๊าก ส่งเสียงกรี๊ดกร๊าดเวลาดีใจหรือสนุก
ดีใจเวลาเห็นอาหาร หรือ คนเลี้ยงดู
6 เดือน
คว่ำและหงายได้เอง นั่งเองได้ชั่วครู่
หยิบของมือเดียว ประคองขวดนม
หันตามเสียงเรียกชื่อ
แยกแยะคนแปลกหน้ากับคนใกล้ชิด
9 เดือน
นั่งบนพื้นได้เองประมาณ10 นาทีเกาะยืนได้
เริ่มหยิบของโดยใช้นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้  เปิดหาของที่ซ่อนไว้ มองตามของที่ตก
เข้าใจภาษาพูดง่ายๆ และสีหน้าท่าทาง
เล่นจ๊ะเอ๋ ตามไปเก็บของที่ตก ร้องตามแม่
12 เดือน
เกาะเดิน ยืนเองได้ชั่วครู่ เวลาเดินเอง อาจกางแขนขาเพื่อทรงตัว
หยิบของใส่ถ้วย หรือกล่อง หยิบข้าวของใกล้ตัวปา
เรียกพ่อ แม่ หรือพูดคำที่มีความหมายได้ 1 คำ
ตบมือ
เลียนท่าทางโบกมือ สาธุ รู้จักอาย
18 เดือน
เดินได้คล่อง วิ่งได้ นั่งบนเก้าอี้ตัวเล็กๆ ได้
วางแท่งไม้ซ้อนกันได้ 4แท่ง  ขีดเขียนเป็นเส้นยุ่งๆ
พูดได้หลายคำ บอกรูปภาพได้ ชี้อวัยวะในร่างกายได้หลายส่วน
ดื่มน้ำ จับช้อนส้อมรับประทานอาหารเองได้
2 ปี  6เดือน
กระโดดขึ้นลง2 เท้าพ้นพื้นได้ บอกให้เดินเขย่งเทาได้
จับดินสอเขียนด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ได้
บอกชื่อตัวเองได้
ไปเข้าห้องน้ำเองได้ แต่อาจยังทำความสะอาดเองไม่ได้
4 ปี
กระโดดกระต่ายขาเดียวได้ ขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้ ใช้กรรไกรตัดกระดาษได้
วาดสี่เหลี่ยมได้ตามแบบ วาดคนที่มีอวัยวะอื่นนอกจากศีรษะได้ 2-4อวัยวะ
นับจำนวนได้4 ชิ้น เล่าเรื่องให้เข้าใจได้ทั้งหมด ร้องเพลง ถามคำถาม
เล่นเป็นกลุ่มกับเด็กคนอื่นได้ เริ่มรู้จักเล่นอย่างมีกติกา เล่นบทบาทสมมุติโดยใช้จินตนาการ
5 ปี
กระโดดสลับเท้า
วาดสามเหลี่ยมตามแบบได้ วาดคนที่มี 6-8 อวัยวะ
เข้าใจความหมาย
ของคำ และอธิบายเหตุผลได้ ทำตามคำสั่งได้3 คำสั่งติดกัน
เล่นอย่างมีกติกาได้มากขึ้น 
6 ปี
เดินต่อเท้าได้
วาดภาพหกเหลี่ยมได้
รู้ซ้ายขวา
บอกคำตรงข้ามได้อย่างน้อยสองอย่าง เช่น ถ้าม้าตัวใหญ่ หนูตัวเล็กพระอาทิตย์ขึ้นตอนกลางวัน พระจันทร์ขึ้นตอนกลางคืน
ช่วยเหลืองานบ้านได้
ผูกเชือกรองเท้าได้


***งานที่มอบหมาย
1.หาความรู้เพิ่มเติมลงBlogger
 -โทรทัศน์ครู
 -วิจัย5บท
 -บทความ
 -หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง